การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. 2530
1. ข้อใดมิใช่หัวหน้าหน่วยงาน
ก. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข. ปลัดกรุงเทพมหานคร
ค. ผู้อำนวยการสำนัก
ง. เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
ตอบ ก. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
“หัวหน้าหน่วยงาน” หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงานตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการกอง หัวหน้ากอง เลขานุการสำนัก ผู้อำนวยการเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ดำรงตำแหน่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้
2. ผู้มีอำนาจจะมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ
ข. ทำเป็นคำสั่ง
ค. ทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. ทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร
ตอบ ก. ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ
ข้อ 6 ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ หากเกิดการเสียหายขึ้นผู้มอบและผู้รับมอบจะต้องรับผิดตามกฎหมาย
3. การจะมอบอำนาจให้แก่บุคคลใด จะต้องคำนึงถึงสิ่งใดต่อไปนี้
ก. ฐานะการเงินและความตรงต่อเวลา
ข. ตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
ค. ความซื่อสัตย์และชื่อเสียง
ง. ตำแหน่งหน้าที่และฐานะการเงิน
ตอบ ข. ตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
4. เมื่อมีการมอบอำนาจเป็นที่เรียบร้อยและหากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้ใดจะต้องรับผิดตามกฎหมาย
ก. ผู้มอบอำนาจเพียงผู้เดียว
ข. ผู้รับมอบอำนาจเพียงผู้เดียว
ค. หัวหน้าของผู้มอบอำนาจ
ง. ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ตอบ ง. ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
5. ระเบียบฉบับนี้มิให้ใช้บังคับเกี่ยวกับการเงินในข้อใด
ก. งบประมาณจากสำนักนายกรัฐมนตรี
ข. งบประมาณจากรัฐบาล
ค. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ได้รับจากรัฐบาล
ง. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจ
ตอบ ค. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ได้รับจากรัฐบาล
ข้อ 7 ระเบียบนี้มิให้ใช้บังคับเกี่ยวกับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ได้รับจากรัฐบาล
6. ข้อใดมิใช่ฎีกาเบิกเงิน
ก. ฎีกาเบิกเงินรายจ่ายตามงบประมาณ
ข. ฎีกาเบิกเงินรายรับตามงบประมาณ
ค. ฎีกาเบิกเงินเดือนและค่าจ้าง
ง. ฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ
ตอบ ข. ฎีกาเบิกเงินรายรับตามงบประมาณ
ข้อ 9 ฎีกาเบิกเงิน มีดังนี้
(1) ฎีกาเบิกเงินรายจ่ายตามงบประมาณ (ยกเว้นเงินเดือนและค่าจ้าง)
(2) ฎีกาเบิกเงินเดือนและค่าจ้าง
(3) ฎีกาเบิกเงินนอกงบประมาณ
(4) ฎีกาเบิกเงินนอกจาก (1) (2) และ (3)
7. หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่น หรือหัวหน้าหน่วยงานในหน่วยงานเดียวกันเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อใด
ก. ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิก
ข. ส่งสำเนาบัตรประชาชนผู้เบิก
ค. ส่งหนังสือมอบอำนาจให้แก่ผู้เบิก
ง. ส่งสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการผู้เบิก
ตอบ ก. ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิก
ข้อ 11 หน่วยงานเจ้าของงบประมาณจะมอบหมายให้หน่วยงานอื่น หรือหัวหน้าหน่วยงานในหน่วยงานเดียวกัน หรือหัวหน้างานในสำนักงานเขตเป็นผู้ทำการเบิกแทนก็ได้ โดยให้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อผู้เบิกเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักการคลังก่อนทำการเบิกเงิน
8. ฎีกาขอเบิกเงินจะต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยากจำนวนเงินที่ขอเบิกทั้งตัวเลขและตัวอักษรจะต้องพิมพ์หรือเขียนให้ชัดเจนห้ามขูดลบ หากผิดพลาดจะต้องแก้ไขอย่างไร
ก. ฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน
ข. ฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ฝ่ายบัญชีลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้น
ค. ฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้น
ง. ฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้หัวหน้าผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้น
ตอบ ค. ฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้น
ข้อ 13 ฎีกาขอเบิกเงินจะต้องพิมพ์หรือเขียนด้วยหมึกที่ลบได้ยากจำนวนเงินที่ขอเบิกทั้งตัวเลขและตัวอักษรจะต้องพิมพ์หรือเขียนให้ชัดเจน ห้ามขูดลบ หากผิดพลาดก็ให้แก้ไขโดยวิธีฆ่าแล้วพิมพ์หรือเขียนใหม่ทั้งจำนวน แล้วให้ผู้เบิกลงลายมือชื่อรับรองการขีดฆ่านั้นด้วย
การพิมพ์หรือเขียนจำนวนเงินในฎีกาของเบิกเงินที่เป็นตัวอักษร ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิด คำว่า “ตัวอักษร” หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงินอย่าให้มีช่องว่างที่จะพิมพ์หรือจำนวนเพิ่มเติมให้สูงขึ้นได้
9. การพิมพ์หรือเขียนจำนวนเงินในฎีกาของเบิกเงินที่เป็นตัวอักษร มีข้อปฏิบัติตามข้อใด
ก. ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิดด้านซ้ายของช่องตัวอักษร
ข. ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิดคำว่า “ตัวอักษร”
ค. ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิดด้านขวาของช่องตัวอักษร
ง. ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกในช่องตัวอักษรแบบไหนก็ได้
ตอบ ข. ให้พิมพ์หรือเขียนจำนวนที่ขอเบิกให้ชิดคำว่า “ตัวอักษร”
ดูคำอธิบายข้อข้างต้น
10. การตั้งฎีกาเบิกเงินจะต้องระบุสิ่งใดลงไปด้วย
ก. ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่าย
ข. ระบุหน่วยงานที่เบิกเงินนั้น
ค. ระบุชื่อผู้ที่เบิกเงิน
ง. ระบุวันที่ตั้งฎีกาเบิกเงิน
ตอบ ก. ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่าย
ข้อ 14 การตั้งฎีกาเบิกเงินให้ระบุวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินนั้นไปจ่าย โดยต้องได้รับการทวงหนี้หรือใกล้ถึงกำหนดจ่ายเงิน จึงตั้งฎีกาเบิกเงินได้
ห้ามมิให้หน่วยงานใดเบิกเงินไปเพื่อเตรียมจ่ายล่วงหน้าและรักษาเงินไว้เกินสิบห้าวัน
11. เงื่อนไขใดมิได้อยู่ในเงื่อนไขการเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ
ก. ให้ทำการเบิกจ่ายได้เฉพาะหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค
ข. การนับวัน เดือน ปี ในใบสำคัญค้างเบิกนั้นให้ถือวัน เดือน ปีที่ส่งมอบวัตถุแห่งหนี้เป็นสำคัญ
ค. การก่อหนี้ผูกพันต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติในปีนั้น
ง. เป็นใบสำคัญค้างเบิกไม่เกินห้าปี
ตอบ ง. เป็นใบสำคัญค้างเบิกไม่เกินห้าปี
ข้อ 17 การเบิกเงินค่าใช้จ่ายค้างเบิกข้ามปีงบประมาณให้นำความใน ข้อ 41 มาใช้บังคับโดยอนุโลมและอยู่ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นใบสำคัญค้างเบิกไม่เกินสามปี
(2) การก่อหนี้ผูกพันต้องไม่เกินยอดเงินคงเหลือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติในปีนั้น
(3) การนับวัน เดือน ปี ในใบสำคัญค้างเบิกนั้นให้ถือวัน เดือน ปีที่ส่งมอบวัตถุแห่งหนี้เป็นสำคัญ
(4) ให้ทำการเบิกจ่ายได้เฉพาะหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าใช้สอย หมวดค่าวัสดุ และหมวดค่าสาธารณูปโภค
12. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใดๆ โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีเดียวกันได้ทัน จะต้องดำเนินการอย่างไร
ก. เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดอื่นๆ ของปีเดียวกัน
ข. เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดที่มีงบประมาณพอกับรายจ่ายของปีเดียวกัน
ค. เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดนั้นๆ ของปีต่อต่อไป
ง. เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดที่มีงบประมาณพอกับรายจ่ายของปีต่อต่อไป
ตอบ ค. เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดนั้นๆ ของปีต่อต่อไป
ข้อ 18 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณใดๆ โดยปกติให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของปีเดียวกันได้ทัน ก็ให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดนั้นๆ ของปีต่อต่อไปตาม ข้อ 17 หรือให้เบิกจากงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นของปีถัดไปอีกปีหนึ่ง ถ้าไม่ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นเพื่อใช้จ่ายตามรายการที่ค้างเบิกให้ดำเนินการโอนเงินงบประมาณรายจ่ายในหมวดใดหมวดหนึ่งไปตั้งจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่นตามรายการและจำนวนเงินที่ค้างเบิกนั้น แล้วให้ทำการเบิกจ่ายจากหมวดรายจ่ายอื่นได้ แต่การใช้จ่ายนั้นจะต้องไม่เป็นการใช้จ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ หรือหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันเกินยอดเงินคงเลหือของงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุญาตในปีที่ล่วงมาแล้ว
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบพนักงานการเงินเเละบัญชีปฏิบัติงาน กทม.
รวมทุกอย่างที่ออกข้อสอบ รวมแนวข้อสอบเก่าเด็ดๆๆ และข้อสอบที่ออกบ่อยมาก
ประกอบด้วย - แนวข้อสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (คณิตศาสตร์)
- แนวข้อสอบวิชาภาษาไทย
- เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
แนวข้อสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง (พนักงานการเงินเเละบัญชีปฏิบัติงาน )
ข้อสอบระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2548
ข้อสอบ กทม.ระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ. 2530
แนวข้อสอบ พรบ.ระเบียบข้าราชการ กทม. และบุคลากร กทม. พ.ศ. 2554
แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
แนวข้อสอบ พรบ. วิธีการงบประมาณ
เเนวข้อสอบตรวจสอบการเงินเเละบัญชีปฎิบัติการ
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับการเงินและการงานคลัง
แนวข้อสอบการบัญชีเบื้องต้น
ข้อสอบการเงินและบัญชี_80 ข้อเฉลยละเอียด
แนวข้อสอบข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2529
แนวข้อสอบระเบียบ กทม.ว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ – รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ 2533
ส่งเป็นไฟล์ทางอีเมล์ สนใจสั่งซื้อมาที่ โทร 085-0127724
สามารถนำไปปริ้นเพื่นอ่านได้เลย ในราคาเพียงชุดละ 399 บาท
กรุณาชำระค่าสินค้าและบริการ
เลขที่บัญชี 491-2-00428-2 ธ.กสิกรไทย
บิ๊กซีขอนแก่น decho pragay ออมทรัพย์
โอนเงินแล้วแจ้งที่ decho.by@hotmail.com