ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข้อสอบอัยการผู้ช่วย พ.ศ.2553  มรดก
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข้อสอบอัยการผู้ช่วย พ.ศ.2553  มรดก

นายสมบูรณ์จดทะเบียนสมรสกับนางสมศรีและมีบุตร 1 คน คือ นายสมเดช ซึ่งได้สมรสและแยกไปอยู่กับภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ต่างจังหวัด นายสมบูรณ์แอบไปได้เสียกับนางสาวสมสวาท มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชายสมพงษ์ และนายสมบูรณ์เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กชายสมพงษ์ ว่าตนเป็นบิดาและให้ใช้นามสกุลของตน ต่อมาขณะที่นายโตซึ่งเป็นลูกจ้างของนายเบิ้มขับรถไปส่งสินค้าให้นายเบิ้ม นายโตได้ขับรถโดยประมาทชนนายสมบูรณ์ได้รับบาดเจ็บและสลบไป นายโตกลัวความผิดจึงนำนายสมบูรณ์ไปทิ้งไว้ในคูน้ำเป็นเหตุให้นายสมบูรณ์ถึงแก่ความตาย นายสมเดชและเด็กชายสมพงษ์ทราบว่าบิดาเสียชีวิตจึงได้ร่วมกับนางสมศรีจัดงานศพของนายสมบูรณ์
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านางสมศรี นายสมเดช และเด็กชายสมพงษ์ มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพและค่าขาดไร้อุปการะจากนายโตได้หรือไม่ เพียงใด และนายเบิ้มจะต้องรับผิดชดใช้ค่า      สินไหมทดแทนดังกล่าวร่วมกับนายโตหรือไม่ หรือต้องรับผิดอย่างใดต่อบุคคลทั้งสาม เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ
กรณีนางสมศรี เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์ ผู้ตาย จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 และมีอำนาจหน้าที่จัดการศพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพจากนายโตผู้กระทำละเมิดทำให้นายสมบูรณ์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคแรก และเมื่อนางสมศรีและนายสมบูรณ์เป็นสามีภริยามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 นางสมศรีจึงมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากนายโตผู้กระทำละเมิด ตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 443 วรรคท้ายอีกด้วย
กรณีนายสมเดช เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์ ผู้ตาย เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกและมีอำนาจหน้าที่จัดการศพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพจากนายโตผู้กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคแรก อย่างไรก็ดี แม้นายสมบูรณ์ ผู้ตายเป็นบิดามี  หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูนายสมเดชซึ่งเป็นบุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์หรือเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็น        ผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 ก็ตาม แต่เมื่อ  นายสมเดชได้แต่งงานไปโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว นายสมบูรณ์จึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูนายสมเดช ดังนั้น นายสมเดชจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากนายโต
กรณี ด.ช.สมพงษ์ เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายและมีอำนาจหน้าที่จัดการศพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 ดังนั้น ด.ช.สมพงษ์ จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคแรก แต่นายสมบูรณ์มิได้มีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดู ด.ช.สมพงษ์ เพราะมิได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์ ดังนั้น ด.ช.สมพงษ์ จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากนายโต
กรณีนายเบิ้ม เป็นนายจ้างของนายโต ต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดที่นายโตลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 จึงต้องร่วมรับผิดในเหตุที่นายโตขับรถชนนายสมบูรณ์ได้รับบาดเจ็บ แต่เมื่อเหตุแห่งการตายของนายสมบูรณ์เกิดจากการที่นายโตนำนายสมบูรณ์ไปทิ้งในคูน้ำซึ่งมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง นายเบิ้มจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับนายโตในค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ได้แก่ค่าปลงศพ และค่าขาดไร้อุปการะแต่อย่างใด
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้