ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ความรู้ ข่าวสาร ข้อสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ความรู้ ข่าวสาร ข้อสอบ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


การสัมมนาและแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่อง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง 24/03/2015
เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อแนะ (Members of Committee of Experts on the Application of Conventions and Recommendations) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศเป็นวิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่อง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง โดยมีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เข้าร่วมสัมมนา

การสัมมนาและแลกเปลี่ยนความเห็นครั้งนี้ มีสาระสำคัญ คือ

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับแรงงาน ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ก่อนองค์การสหประชาชาติ มีฐานะเป็นองค์การพิเศษของสหประชาชาติ มีธรรมนูญเป็นของตนเอง ใช้วิธีทำงานภายใต้ระบบไตรภาคี ปัจจุบันมีอนุสัญญาทั้งหมด ๑๘๙ ฉบับ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาประมาณ ๒๐ ฉบับ โดยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว ก็อาจถูกตรวจสอบโดยผ่านกลไกรายงานภายใต้อนุสัญญาฉบับอื่นที่เป็นภาคี และอาจถูกร้องเรียนขึ้นไปยังคณะกรรมการว่าด้วยเสรีภาพของการสมาคม (Committee on Freedom of Association : CFA)

ถูกใจเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว มีสาระสำคัญคือ คนทำงานและนายจ้างมีสิทธิจัดตั้งองค์การของตน โดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า มีสิทธิที่จะยกร่างธรรมนูญและกฎข้อบังคับของตน มีสิทธิคัดเลือกผู้แทนได้อย่างเสรี มีสิทธิจัดการบริหารกิจกรรมของตน โดยรัฐต้องละเว้นจากการแทรกแซงใดๆ องค์กรนายจ้างและลูกจ้างที่ตั้งขึ้นมาแล้วจะถูกยกเลิกโดยฝ่ายปกครองไม่ได้ ต้องผ่านศาล มีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหพันธ์และสมาพันธ์ และมีสิทธิที่จะเข้าเป็นภาคีกับองค์การนายจ้างและลูกจ้างระหว่างประเทศได้ อย่างไรก็ดีขอบเขตตามที่กำหนดในอนุสัญญาฉบับนี้ หากใช้บังคับกับทหารและตำรวจ ต้องกำหนดเป็นกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ สำหรับการนัดหยุดงานนั้น คณะกรรมการ ILO เคยมีแนวความเห็นว่า การนัดหยุดงานกรณีที่เป็นบริการสาธารณะที่จำเป็นยิ่ง (essential service) ที่กระทบต่อชีวิต ความปลอดภัย สาธารณสุขของประชาชนจะหยุดงานไม่ได้ การบริการดังกล่าว เช่น ไฟฟ้า ประปา หน่วยดับเพลิง เป็นต้น ส่วนการนัดหยุดงานในบริการอื่น รัฐวิสาหกิจที่จัดบริการรถไฟ การท่าเรือ สามารถนัดหยุดงานได้ กรณีวิกฤติต้องเป็นช่วงระยะเวลาที่จำกัดหากจะจำกัดสิทธินี้ เช่น เกิดสงคราม ภัยพิบัติ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะนัดหยุดงานไม่ได้ แต่แนวคิดนี้ไม่ชัดเจนในประเทศไทย และรัฐจะลงโทษทางอาญาเนื่องจากการนัดหยุดงานไม่ได้

อนุสัญญาฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง มีสาระสำคัญดังนี้ รัฐต้องปกป้องไม่ให้มีการบีบหรือปลดลูกจ้าง ต้องไม่ให้องค์กรของนายจ้างลูกจ้างมีการแทรกแซงซึ่งกันและกัน และต้องส่งเสริมให้มีการเจรจาต่อรองกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับเกณฑ์เพิ่มเติมคือ ให้เน้นอิสรภาพของแต่ละภาคีในการเจรจา นายจ้างลูกจ้าง

มีอิสรภาพในการเจรจา รัฐต้องแทรกแซงน้อยที่สุดในการเจรจาทวิภาคี และต้องให้ความสำคัญยิ่งกับองค์กรของนายจ้างลูกจ้างโดยเฉพาะสหภาพที่จะอยู่ในการเจรจา การบังคับใช้อนุสัญญานี้กับตำรวจ ทหาร ต้องกำหนดเป็นกฎหมายและไม่ใช้กับข้าราชการที่ใช้อำนาจในนามของรัฐ ข้าราชการระดับสูง เช่น อธิบดี ปลัดกระทรวง

กฎหมายแรงงานของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ยังมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้ กล่าวคือ มีบทบัญญัติที่เป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น ให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน มีบทกำหนดโทษอาญาสำหรับการนัดหยุดงาน มีข้อห้ามนายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน

ส่วนการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้งสองฉบับนั้นเห็นว่าประเทศไทยสามารถให้สัตยาบันได้เลย แล้วจึงค่อยๆ แก้กฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญา เพราะแม้ว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญา ก็ถูกเสนอแนะให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญาทั้งสองฉบับอยู่แล้ว และประเทศไทยเองก็ได้แถลงในกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ และฉบับ ๙๘

อนึ่ง ศาสตราจารย์วิทิตฯ เห็นว่า ไทยควรพิจารณาความพร้อมที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว ๑๙๙๐ (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families) โดยอาจเชิญผู้แทนกระทรวงแรงงานมาร่วมหารือด้วย

ข่าวสารเพิ่มเติม
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้