ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติความเป็นมากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติความเป็นมากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข)

ประวัติความเป็นมา

ประเทศไทยเริ่มมีระบบบำนาญมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า “ราชการบ้านเมืองมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้จะเพิ่มเงินเดือนให้มากขึ้นก็ตาม แต่ข้าราชการมีหน้าที่ต้องรับราชการเต็มเวลา ไม่ใคร่ได้ มีโอกาสที่จะสะสมทรัพย์ไว้ เลี้ยงตน เมื่อแก่ชรา หรือทุพพลภาพ” จึงได้กำหนดให้มีบำเหน็จบำนาญไว้เลี้ยงชีพยามที่ออกจากงานขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตราพระราช บัญญัติเพื่อจ่ายเบี้ยบำนาญเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2444 เรียกว่า “พระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญรัตนโกสินทร์ศก 120” และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จนเป็นพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494 ลักษณะสำคัญของระบบบำเหน็จบำนาญพ.ศ.2494 คือ การให้น้ำหนักผลตอบแทนแก่ ข้าราชการเมื่อออกจากงาน

    การปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทำได้ยากและไม่คล่องตัวเพราะหากมีการขึ้นเงินเดือน ภาระที่ต้องจ่ายบำเหน็จบำนาญก็จะมากตามไปด้วย เพราะสูตรในการคำนวณบำเหน็จบำนาญจะขึ้นอยู่กับเงินเดือนเดือนสุดท้ายเสมอ ข้าราชการจึงเป็นผู้มีเงินเดือนน้อยไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่แท้จริง
    รัฐไม่มีการสำรองเงินสำหรับจ่ายบำเหน็จบำนาญล่วงหน้า แต่จะเป็นการจ่ายจากงบประมาณแผ่นดินรายปีจึงไม่เป็นไปตามหลักการบริหารการคลังที่ดี คือ การนำภาษีของคนทำงานไปจ่ายให้กับผู้เกษียณ หรือที่เรียกว่าเป็นระบบ Pay as You Go ถือเป็นภาระผูกพันกับผู้เสียภาษีในอนาคต
    รัฐไม่สามารถวางแผนการคลังที่ดีได้ เพราะวิธีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อจ่ายบำเหน็จบำนาญเป็นรายปี นอกจากนี้ ในช่วงอีก 10-20ปี จะมีข้าราชการเกษียณอายุพร้อมกันเป็นจำนวนมากประกอบกับการที่ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เนื่องจากประชากรมีอายุขัยสูงขึ้นและอัตราเกิดใหม่ของประชากรมีน้อย ทำให้ประเทศไทยจะเกิดสภาพ ผู้เสียภาษีมีจำนวนน้อย ต้องนำส่งภาษีเพื่อดูแลผู้สูงวัยเกษียณอายุจำนวนมากที่จะมีอายุยืนยาวตามความก้าวหน้าทางการแพทย์นั่นคือโอกาสที่รัฐจะจัดเก็บรายได้จากภาษีมีน้อยลง ขณะที่ความจำเป็นต้องจ่ายมีมากขึ้นต่อเนื่อง และยาวนานขึ้นเหล่านี้ถือเป็นภาระในอนาคตของรัฐซึ่งหากไม่มีการแก้ไขอาจนำไปสู่ปัญหาขาดหลักประกันแก่ผู้รับบำนาญและข้าราชการในปัจจุบันตามไปด้วย
    รัฐมีเงินใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้านอื่นได้น้อยเนื่องจากสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและเงินบำเหน็จบำนาญ มีสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 40 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด หรือเป็นอัตราร้อยละ 7 ของ GDP ซึ่งมีสัดส่วนสูงมากเมื่อเทียบกับรายจ่ายหมวดอื่นๆ

ถูกใจเพื่อรับข่าวสาร ข้อสอบ


จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้