ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ข่าวสาร การกีฬาแห่งประเทศไทย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ข่าวสาร การกีฬาแห่งประเทศไทย

เกี่ยวกับ กกท



ประวัติการกีฬาแห่งประเทศไทย

นับตั้งแต่กิจกรรมกีฬาสากลได้แพร่หลายในประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กีฬาสากลในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและเป็นที่สนใจของประชาชนอย่างกว้างขวางควบคู่กับกีฬาพื้นบ้านหรือกีฬาประเพณีมาโดยตลอด ในการดำเนินการกีฬาในสมัยนั้น ได้รับพระราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยการส่งเสริมกีฬาเพื่อเป็นแนวทางการสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาตลอดจนการรับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาช่วยเหลือการกีฬาในประเทศ เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีกระทรวงธรรมการ หรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบเป็นผู้ดำเนินการ

กิจการกีฬาในประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง กีฬาชนิดต่างๆได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างแพร่หลาย การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาระหว่างประเทศในขณะนั้น เป็นการดำเนินงานของสมาคมกีฬา ยังไม่มีหน่วยงานกีฬาของรัฐให้การสนับสนุนเช่นเดียวกับนานาประเทศ การเข้าแข่งขันของทีมกีฬาไทยจึงมักจะประสบปัญหาด้านงบประมาณและไม่บรรลุผลเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ บุคคลในวงการกีฬาของไทยในสมัยนั้น ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สนใจในกีฬาและเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมกีฬาต่างๆ และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย อาทิ พระยาจินดารักษ์ ,หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ,นายกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา , นายโฉลก โกมารกุล ณ นคร, นายวิลาศ บุนนาค, นายสวัสดิ์ เลขยายนนท์ และนายกอง วิสุทธารมณ์ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบการกีฬาของประเทศในภาครัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่ด้านนโยบายของประเทศ ตลอดจนดูแลและประสานงานส่งเสริมกีฬาระดับประชาชน ให้ประชาชนได้เล่นกีฬาอย่างกว้างขวาง และมีโอกาสคัดเลือกนักกีฬาที่มีศักยภาพไปแข่งขันกับต่างประเทศ

ในปี 2507 ความพยายามที่จะก่อตั้งองค์การกีฬาระดับรัฐเป็นผลสำเร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2507 ขึ้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2507 (เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกีฬาเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการสร้างเสริมพลังกายและกำลังใจของบุคคลให้รู้จักตัดสินใจในทางที่ถูกที่ควร เป็นการเผยแพร่ให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่ชาวโลก และเป็นเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความผูกพันทางมิตรภาพระหว่างประเทศ แต่ขณะนี้กีฬาของประเทศไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร จำเป็นต้องเร่งรีบส่งเสริมให้ทัดเทียมนานาประเทศ โดยสนับสนุนให้เกิดความสนใจและนิยมกีฬามากยิ่งขึ้น อีกประการหนึ่งคณะกรรมการเกี่ยวกับกีฬาต่าง ๆ ยังกระจัดกระจายกันอยู่ การดำเนินงานไม่สะดวกและรวดเร็วตามต้องการ สมควรต้องมีองค์การรับผิดชอบโดยเฉพาะขึ้น เพื่ออำนวยบริการแก่ประชาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    1. ส่งเสริมกีฬา
    2. ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินการกีฬาสมัครเล่น
    3. สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับกีฬาสมัครเล่น
    4. ติดต่อร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาสมัครเล่น ทั้งในและนอกราชอาณาจักร
    5. ประกอบธุรกิจอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่หรือเพื่อประโยชน์ของกีฬาสมัครเล่น
    6. เสนอแนะแก่หน่วยราชการ หรือองค์การของรัฐบาลในเรื่องกีฬาเพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือชักจูงเร่งเร้าให้เกิดความนิยมในกีฬาอย่างกว้างขวาง
    7. เสาะแสวงหาและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ จากหน่วยราชการองค์การของรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสถิติเกี่ยวแก่กีฬ่าสมัครเล่น

เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ให้ อ.ส.ก.ท.มีอำนาจรวมถึง การสอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาสมัครเล่น เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นกีฬา หรือเกิดความเสียหาย หรือเป็นภัยแก่ประเทศชาติด้วย

องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี บริหารงานโดยคณะกรรมการองต์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง มีผู้อำนวยการ อ.ส.ก.ท.ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งเป็นกรรมการเพื่อดำเนินกิจการของ อ.ส.ก.ท. และมีหลวงสุขุมนัยประดิษฐ เลขาธิการสำนักงาน ก.พ. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมกีฬาหลายแห่ง ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) คนแรก

องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยในยุคแรกเริ่ม ยังไม่มีสำนักงานหรือที่ทำการของตนเอง ได้อาศัยสระว่ายน้ำโอลิมปิคของกรมพลศึกษาในบริเวณสถานกีฬาแห่งชาติเป็นที่ทำการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2507 – 9 มีนาคม 2511 เป็นเวลานานถึง 4 ปี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่สำนักงานแห่งใหม่ที่สนามกีฬาหัวหมาก

แม้ว่าองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย จะยังไม่มีอาคารที่ทำการถาวร แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสนองนโยบายของรัฐในด้านการกีฬา โดยได้รับผิดชอบกิจการกีฬาของชาติตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ ทั้งระดับในประเทศและระหว่างประเทศ ในส่วนกีฬาระหว่างประเทศภารกิจแรกที่ อ.ส.ก.ท.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในสมัยนั้น คือ เป็นสำนักเลขาธิการคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2509

ภายหลังการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี 2509 สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2510 ได้รับทราบสรุปรายงานการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 และมีมติมอบสถานกีฬาและที่ดินในบริเวณสถานกีฬาหัวหมากทั้งหมด ซึ่งมีพื้นที่รวม 265.452 ไร่ ให้ อ.ส.ก.ท.เป็นผู้ดูแลรักษา และเมื่อได้รับมอบหมายให้ดูแลสถานกีฬาดังกล่าว อ.ส.ก.ท.ยังต้องจัดซื้อที่ดินที่มีปัญหาติดค้างมาจากการเวณคืนที่ 1 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ดินที่อยู่ในเขตกีฬาด้านหน้า มีเนื้อที่จำนวน 4 ไร่ 96 ตารางวา (ด้วยเงินงบประมาณประจำปี 2511 จำนวน 280,000 บาท) สถานกีฬาหัวหมากจึงมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน ประมาณ 270 ไร่ ตั้งแต่นั้นมา

องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อ.ส.ก.ท.) จึงได้ย้ายที่ทำการชั่วคราวจากอาคารสระว่ายน้ำ โอลิมปิคในกรีฑาสถานแห่งชาติ มาตั้งสำนักงานที่อินดอร์สเตเดี้ยม สนามกีฬาหัวหมาก ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2511 และเนื่องจากมีความจำเป็นต้องซ่อมแซมอาคารอินดอร์สเตเดี้ยมเป็นส่วนใหญ่ องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย จึงได้ย้ายที่ทำการจากอาคารอินดอร์สเตเดี้ยมไปอยู่ที่อาคารศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม ในสนามกีฬาหัวหมาก ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2519 ต่อมาในปี 2520 อ.ส.ก.ท.ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการถาวรขึ้นใหม่ที่บริเวณด้านหน้าของสนามกีฬาหัวหมาก และเป็นที่ทำการสำนักงานถาวร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2521


แม้ว่ามีองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย(อ.ส.ก.ท.) ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐรับผิดชอบการกีฬาของประเทศแล้วก็ตาม แต่โดยฐานะของ อ.ส.ก.ท. ก็เป็นเพียงหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งยังเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานกีฬาของชาติเป็นส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านงบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เพียงพอกับการขยายตัวของการกีฬาในชาติ และปัญหาการสอดส่องการดำเนินกิจกรรมกีฬาของภาคเอกชนให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐ ประกอบกับได้มีบุคคลในวงการกีฬาหลายฝ่ายเห็นว่า การบริหารกีฬาของไทยยังไม่มีแบบแผนที่ดี ขาดประสิทธิภาพต่อการส่งเสริมกีฬาอย่างแท้จริง รวมทั้งปรากฎว่า มีกลุ่มบุคคลนำกีฬาไปสร้างความไม่ดีไม่งาม อันกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศโดยที่ไม่มีหน่วยงานใดสามารถควบคุมหรือสอดส่อง เพื่อระงับและป้องกันการกระทำดังกล่าวได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ขึ้น ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2528 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อจัดตั้ง “การกีฬาแห่งประเทศไทย” (กกท.) แทน ”องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย” และให้การกีฬาแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬาและควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. จึงได้รับการสถาปนาขึ้นแทน องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2528 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    1. ส่งเสริมกีฬา
    2. ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานเกี่ยวกับการกีฬา
    3. ศึกษา วิเคราะห์และจัดทำโครงการ แผนงานและสถิติเกี่ยวกับการส่งเสริมการกีฬา รวมทั้งประเมินผล
    4. จัด ช่วยเหลือ แนะนำ และร่วมมือในการจัดและดำเนินการกีฬา
    5. สำรวจ จัดสร้าง และบูรณะสถานที่สำหรับการกีฬา
    6. ติดต่อ ร่วมมือกับองค์การหรือสมาคมกีฬาทั้งในและนอกราชอาณาจักร
    7. สอดส่องและควบคุมการดำเนินกิจการทางการกีฬา
    8. ประกอบกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวแก่ หรือประโยชน์ของการกีฬา

ต่อมา ในปี พ.ศ.2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ขึ้น โดยนัยแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้มีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 และได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 โดยนัยแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ มีผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวละกีฬาเป็นประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทยได้โอนไปสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแทนสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป และเปลี่ยนอธิบดีกรมพลศึกษา เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ให้คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยมีกรรมการ จำนวน 15 คน

ถูกใจเพื่อรับข่าวสาร ข้อสอบ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้