ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติ เปิดสอบ สมัครงาน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติ เปิดสอบ สมัครงาน สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สกย

เกี่ยวกับองค์กร


ทศวรรษแรก (ปี 2503-2513) สร้างความเชื่อมั่นแก่ชาวสวนยาง





ฝึกการรังวัดสวนยาง

สำนักงานองค์การสวนยางนาบอน
การ ดำเนินงานในทศวรรษแรก สมัยรัฐบาลจอม พลสฤษดิ์ ธนรัชต์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีสำนักงานส่วนภูมิภาค ตั้งอยู่ในเขตปลูกยาง หนาแน่น ในภาคใต้ และภาคตะวันออก รวม 6 เขต ได้แก่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา และจันทบุรี มีขุนวิจิตรพา หนการ เป็นผู้อำนวยการ คนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2504 – 30 กันยายน 2508 คณะทำงานชุดแรกเป็น พนักงานที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีด้านการเกษตร จำนวน 11 คนเป็นหลัก ทำงานทั้งด้านภาคสนามและการเงิน การบัญชี ซึ่งพนักงานชุดแรกนี้ต่อมาได้เป็น ผอ.สกย. ถึง 3 คน คือนายณรงค์ สุจเร นายสมศักดิ์ โรหิตรัตนะ และนายเสวต ทองรมย์

หลังจากนั้นอีกประมาณ 5-6 เดือน จึงมีพนักงาน ด้านการเกษตรและด้านการเงินและบัญชี เข้ามาปฏิบัติงานเสริมอีก 25 คน ทำให้การสงเคราะห์ ดำเนินการได้รวดเร็ว และ คล่องตัวยิ่งขึ้น ด้วยความที่งานด้านการสงเคราะห์เป็นงานใหม่ของประเทศ ไทย การทำงานในยุคเริ่มต้น จึงประสบความ ลำบาก ในการทำความเข้าใจกับประชาชน พอสมควร แต่ด้วยความมุ่งมั่น และอุดมการณ์อันแรงกล้า ที่จะพลิกสถานการณ์ การผลิตยาง ของประเทศ และนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของชาวสวนยาง ในขณะนั้น ทำให้เกษตรกรเข้าใจในเหตุผล และ ประโยชน์ที่จะได้รับในที่สุด อีกทั้งให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจเป็นอย่างสูง อย่างที่ไม่มีหน่วยงานราชการใดเคยได้รับมาก่อน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่พนักงาน สกย. ต้องจดจำ ไว้เป็นพิเศษ คือในช่วงปี 2505 หลังจากก่อตั้ง สกย. เพียง 2 ปีเศษ ได้เกิดวาตภัยครั้งใหญ่ที่ จ.นครศรีธรรมราช ส่งผลให้ ประชาชนต้องประสบความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สกย. ได้ระดมพนักงานจำนวนมาก ไปช่วยเหลือเกษตรกร ชาว สวนยางที่ประสบภัยพิบัติอันร้ายแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พนักงาน สกย. ทั้งหมดต่างเร่งเข้าไปในพื้นที่ ระดมพลังทุ่มเท ความสามารถที่มีอยู่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรผู้ประสบภัยเหล่านั้น อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย แม้ทุกคนจะ ทุกข์กายแต่ต่างสุขใจและภาคภูมิที่ได้ ช่วยเหลือสังคมอย่างเต็มกำลัง ทำให้ชื่อเสียงของ สกย. โดดเด่นขึ้นมาอยู่ในความ ทรงจำของชาวสวนยางพาราทั่วไป 

ใน ช่วงปลายทศวรรษ เมื่อผู้อำนวยการคนใหม่คือ นายชุบ มุนิกานนท์ เข้ามาสานงานต่อ ราวปลายปี 2508 จึงขยายการ บริการจากเขตสงเคราะห์ยาง 6 เขต เป็นสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ยางจังหวัด รวม 12 จังหวัด ในปี 2511 คือ จันทบุรี ระยอง ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้เพื่อให้การบริการเกษตรกร เป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมพื้นที่ปลูก ยางได้มากที่สุด เงินที่ใช้ในการสงเคราะห์และบริหารงานของ สกย. ในทศวรรษนี้ ใช้จากเงินสงเคราะห์รับ (CESS) ทั้งหมด ซึ่งสามารถให้การสงเคราะห์ได้ปีละ ประมาณ 22,000-77,000 ไร่



ถูกใจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ

จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

สามารถอัพโหลดไฟล์แนบ สำหรับโพสได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้