ประยุกต์ใช้ โพสล่าสุด โพสสำคัญ เครื่องมือ สมาชิก สถิติฟอรั่ม ธนาคาร
หัวข้อ : ประวัติความเป็นมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
admin ออฟไลน์
ระดับ: ผู้ดูแลระบบ
รายละเอียดผู้ใช้ 

ประวัติความเป็นมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

       ประวัติ ความเป็นมา  



กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เริ่มจัดตั้งหน่วยชันสูตรทางการแพทย์ทุกจังหวัด โดยแห่งแรกได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ศาสตราจารย์จำลอง สุวคนธ์ อธิบดีในขณะนั้นได้ส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเพื่อจัดตั้งและร่วมดำเนินงานห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคโดยให้บริการแก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ หน่วยชันสูตรทางแพทย์ขึ้นตรงต่อกองชันสูตรทางการแพทย์และผู้อำนวยการกอง คือ นายแพทย์เฉลิม เมฆสุด โดยมีสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สำนักงานอนามัยจังหวัดนครราชสีมา (ปัจจุบันคือศูนย์แพทย์ชุมชนวัดบูรพ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ถนนจอมพล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา)
 
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายรวมงานชันสูตรโรคของกรมต่างๆ ได้แก่ หน่วยชันสูตรทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน่วยควบคุมกามโรค กรมอนามัย และหน่วยชันสูตรโรคของโรงพยาบาล กรมการแพทย์ จัดตั้งเป็นหน่วยชันสูตรสาธารณสุขนครราชสีมา และได้รับโอนย้ายนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งหมดมาสังกัดกองบริการชันสูตร สาธารณสุขภูมิภาค นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2514 เป็นต้นมา

 แผนการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ยา อาหาร และพิษวิทยา ซึ่งกำหนดในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524) กองวิเคราะห์ยา กองวิเคราะห์อาหาร และกองพิษวิทยา ได้ส่งนักวิเคราะห์จากส่วนกลางหมุนเวียนไปปฏิบัติงานร่วมกันแต่ละเดือน เพื่อให้การบริการมีความครอบคลุมมากและตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 75/2525 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2525 กำหนดศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขตขึ้น 4 แห่ง ที่นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลกและสงขลา ส่วนหน่วยชันสูตรสาธารณสุข เขต มี 3แห่ง ที่เชียงใหม่ สงขลา และนครสวรรค์ นอกนั้นเป็นหน่วยชันสูตรสาธารณสุขจังหวัด สำหรับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 3 นครราชสีมา มีคำสั่งมอบหมายให้ ภญ.ประจวบ อิศรางกูร ณ อยุธยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์และตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 75/2525 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2525 กำหนดศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขตขึ้น 4 แห่ง ที่นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลกและสงขลา ส่วนหน่วยชันสูตรสาธารณสุข เขต มี 3 แห่ง ที่เชียงใหม่ สงขลา และนครสวรรค์ นอกนั้นเป็นหน่วยชันสูตรสาธารณสุขจังหวัด สำหรับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 3 นครราชสีมา มีคำสั่งมอบหมายให้ ภญ.ประจวบ อิศรางกูร ณ อยุธยา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 34 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 12 แห่ง มีการแบ่งส่วนราชการภายในศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา พิษณุโลก เชียงใหม่ สงขลา ชลบุรีและขอนแก่น ประกอบด้วย 6 กลุ่มงาน 1 ฝ่ายได้แก่ กลุ่มงานยา กลุ่มงานพิษวิทยา กลุ่มงานอาหาร กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิก กลุ่มงานรังสีและเครื่องมือแพทย์ กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและวิชาการ และฝ่ายบริหารงานทั่วไป  และจากการปฏิรูประบบราชการ ทางด้านโครงสร้างและบทบาท อำนาจหน้าที่ขององค์กรภาครัฐภายหลังการเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2541) ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 103 ก ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2545 กำหนดชื่อเป็น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1-12 มีแบ่งส่วนราชการภายใน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม และ 1 ฝ่าย คือ กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข กลุ่มชันสูตรสาธารณสุข กลุ่มพัฒนาคุณภาพและวิชาการและฝ่ายบริหารทั่วไป
      
      
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมาได้ย้ายมา ปฏิบัติงานที่อาคารแห่งใหม่ ถนนราชสีมา - โชคชัย กิโลเมตรที่ 7 บ้านหนองปลิง ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา บนเนื้อที่ 15 ไร่ ประกอบด้วยบ้านพักข้าราชการระดับ 7-8 จำนวน 1 หลัง บ้านพักข้าราชการระดับ 5-6 จำนวน 2 หลัง และแฟลตพยาบาลขนาด 10 ครอบครัว จำนวน 2 หลัง ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2547 เป็นต้นมา


กดถูกใจเพจเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร แนวข้อสอบ
รูปภาพ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.jpg
จำหน่ายเอกสารแนวข้อสอบรับราชการ   0934903924
รายละเอียดไฟล์แนบ
กล่องตอบกลับด่วน

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ คุณสามารถบันทึกฉบับร่างได้
กด "Ctrl+Enter" เพื่อตั้งกระทู้ได้